ประวัติสมาคม
สมาคมฯ ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นสมาคมการค้า เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2516 ตามใบอนุญาตสมาคมการค้าเลขที่ 2/2516 ทะเบียนเลขที่ 80/2516 ในนาม “สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย” ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย และผลิตภัณฑ์ชำระล้าง” โดยมี คุณยงยุทธ ทวีกุลวัฒน์ เป็นนายก สมาคมฯ คนแรก มีบริษัทฯ สมาชิก ทั้งหมด 13 บริษัท ต่อมาในปี พ.ศ. 2545 ได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย สิ่งชำระล้าง และ ผลิตภัณฑ์ส่วนบุคคล” และ เมื่อวันที่ 31 กันยายน 2556 ได้มีการ เปลี่ยนชื่อสมาคมฯ อีกครั้ง เป็น “สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย, ผลิตภัณฑ์ใน บ้านเรือน และส่วนบุคคล” จนถึงปัจจุบัน
รายนามนายกสมาคมฯ (จากอดีต ถึง ปัจจุบัน)
- พ.ศ. 2520-2521
- นายยงยุทธ
- ทวีกุลวัฒน์
- บริษัท ลีเวอร์ บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2522-2523
- ดร.อดุลย์
- อมตวิวัฒน์
- บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2524-2525
- นายวิชิต
- ตันติอนุนานนท์
- บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2526-2528
- นายรักษ์
- เอื้อสัมพันธ์ชัย
- บริษัท คอลเกต ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด
- พ.ศ. 2529-2530
- นายวิสุทธิ์
- ศรีลานพงษ์
- บริษัท ลีเวอร์ บราเธอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2531
- ดร.อดุลย์
- อมตวิวัฒน์
- บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2532
- นายวิชิต
- ตันติอนุนานนท์
- บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2533-2535
- นายประเสริฐ
- เมฆวัฒนา
- บริษัท เบอร์ลี่ ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ. 2536-2537
- นายวิชิต
- ตันติอนุนานนท์
- บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2538
- นายชัชวาลย์
- วงศ์ศรีตระกาล
- บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย โฮลดิ้ง จำกัด
- พ.ศ. 2539
- ดร.รักษ์
- อุณหโภคา
- บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด
- พ.ศ. 2540-2556
- นายประพจน์
- นันทวัฒน์ศิริ
- บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
- พ.ศ.2557- 2558
- นางสุวรรณี
- สิริเวชชะพันธ์
- บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2559 -2562
- นางสุวรรณี
- สิริเวชชะพันธ์
- บริษัท เอส 2 เอ็น แมททีเรียล จำกัด
- พ.ศ. 2562-2566
- นางสาวนงลักษณ์
- สถิตย์กาญจน์
- บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
- พ.ศ. 2567- ปัจจุบัน
- ดร. ภญ. นีรนารถ
- จิณะไชย
- บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด
ความเป็นมาสมาคม
ปัจจุบันสมาคมฯมีสมาชิกที่ครอบคลุมทั้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์ที่ใช้ในบ้านเรือนโดยมีบริษัทฯสมาชิกที่ครอบคลุมตลาดของผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือนประมาณ 70-80% ของตลาดในประเทศไทย สมาคมฯได้มีตัวแทนเข้าร่วมทำงานในประเด็นข้อกฎหมายต่างๆ ตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เช่น
- เป็นสมาคมในเครือ JSDA (JapanSoap Detergent Association) เมื่อเริ่มก่อตั้ง
- ทำงานร่วมกับหน่วยชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ เรื่องการแสดงปริมาณสุทธิของผลิตภัณฑ์สบู่บนฉลากในปี 2544
- ผู้ริเริ่มและจัดให้มีการทำงานร่วมภาครัฐและภาคเอกชน จนได้มีการจัดทำบันทึกความเข้าใจเพื่อกำหนดแนวทางโฆษณาเครื่องสำอาง ในปี 2553
- ทำงานร่วมกับกลุ่มวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เรื่องแนวทางการทดสอบประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อแบคทีเรียของผลิตภัณฑ์ซักผ้าในปี 2555
- เป็นตัวแทนในคณะอนุกรรมการเครื่องสำอางตั้งแต่ปี 2557จนถึงปัจจุบัน (2565 ) โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ข้อกฎหมายเครื่องสำอางมีแนวทางที่ชัดเจน มีความเข้าใจที่ตรงกัน และช่วยส่งเสริมผู้ประกอบการ
- เข้าร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เพื่อประชุมพิจารณาการควบคุมเครื่องสำอางเพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติเครื่องสำอางอาเซียน (ASEAN Cosmetic Directive) ตั้งแต่ปี 2557จนถึงปัจจุบัน (2565 )
- เป็นหนึ่งในตัวแทนภาคเอกชนร่วมทำงานในชั้นกรรมธิการ เพื่อเสนอปรับแก้ไข ร่างพรบเครื่องสำอางและมีการประกาศใช้เป็นทางการในปี 2558
- มีตัวแทนที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อร่วมทำงานในการออกกฎหมายเครื่องสำอาง 3 สมัย รวมถึงปัจจุบัน (2565)
- จัดให้มีการประชุมวิชาการประจำปี เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้ประกอบการโดยส่งเสริมให้ผู้ประกอบการมีช่องทางในการติดต่อกับหน่วยงาน
ราชการมากขึ้น ดังนี้
1. ปี 2562 เรื่อง ก้าวทันกฏหมายใหม่ ธุรกิจก้าวไกลไม่ตกเทรน โดยเชิญหน่วยงานภาครัฐมาร่วมให้ความรู้ความเข้าใจ อาทิเช่น ร่าง พรบ สารเคมี โดยศูนย์พัฒนา นโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี , ที่ปรึกษาโครงการพัฒนากฎหมายว่าด้วย สารเคมี สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา, ร่างพรบ คุ้มครองผู้บริโภคและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค, หลักการและสาระสำคัญ พรบ วัตถุอันตรายฉบับที่ 4 โดย กลุ่มควบคุมวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
2. ปี 2563 เรื่อง ก้าวทันกฏหมายใหม่ ธุรกิจก้าวไกลไม่ตกเทรน โดยมีหัวข้อต่างๆ เช่น Sustainability Trend on Personal Care Products for year 2020 and toward the future โดยผู้เชี่ยวชาญ บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด , ความคืบหน้า พรบ สารเคมี โดย หัวหน้าศูนย์พัฒนานโยบายแห่งชาติด้านสารเคมี, Update on ASEAN Cosmetics Harmonization 2020 โดย บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด และ E-Commerce Regulatory Framework and Compliance โดย บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
3. ปี 2564 GLOBAL TREND ภาคธุรกิจปรับตัวอย่างไรในยุค NOW NORMAL ( ONLINE) Antiviral testing for household product in Thailand by TH FDA Qualified Lab โดยผู้เชี่ยวชาญจากภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล Scientific facts on Sunscreens and Corals โดย ผู้เชี่ยวชาญ จาก ลอรีอัล กรุ๊ป ฝ่าย R&I ประเทศฝรั่งเศส, ทิศทางนโยบายและกฎหมาย ในการจัดการขยะพลาสติกมุ่งสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยผู้อำนวยการส่วนลดและใช้ประโยชน์ของเสีย กองจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ,ความรับผิดชอบของผู้ผลิตสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนโดยสถาบันจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฯ
สมาคมมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
- ส่งเสริมธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตและการวางตลาดของสบู่และผลิตภัณฑ์ซักล้างต่างๆ
- สนับสนุนและช่วยเหลือสมาชิกแก้ไขอุปสรรคข้อขัดข้องต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบธุรกิจดังที่ได้ระบุไว้ในวัตถุประสงค์
- ส่งเสริมการให้ความร่วมมือระหว่างกัน ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อมูลระหว่างสมาชิก
- แจ้งให้สมาชิกทราบเกี่ยวกับกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ประกอบอยู่
- ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อส่งเสริมธุรกิจของสมาชิกของสมาคม
- ส่งเสริมมาตรฐานการปฎิบัติเกี่ยวกับการผลิตและการตลาดของสบู่และผลิตภัณฑ์ซักล้างอื่น ๆ
- ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาชิกในการติดต่อกับหน่วยงานอื่น ๆ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการผลิต และการตลาดของสบู่และผลิตภัณฑ์ซักล้างอื่น ๆ
- ส่งเสริมความเข้าใจอันดีระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค
- สนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ เกี่ยวกับสาธารณกุศล
- สมาคมนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
เราจะปฏิบัติตามกฏหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (PDPA)
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฯ
ส่งเสริมธุรกิจ
เกี่ยวกับการผลิตและ การวางตลาด
สนับสนุน
และช่วยเหลือสมาชิกแก้ไข อุปสรรคข้อขัดข้องต่างๆ
ส่งเสริม
การให้ความร่วมมือระหว่างกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การแจ้ง
แจ้งให้สมาชิกทราบเกี่ยวกับ กฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับ
ให้ความร่วมมือ
กับรัฐบาลหรือหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ส่งเสริมการผลิต
ส่งเสริมมาตรฐานการปฏิบัติ เกี่ยวกับการผลิตและการตลาด
ทำหน้าที่
ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของสมาชิก ในการติดต่อกับหน่วยงานอื่นๆ
ส่งเสริมความเข้าใจ
ส่งเสริมความเข้าใจระหว่างผู้ผลิต และผู้บริโภค
สนับสนุน
สนับสนุนกิจกรมต่างๆ เกี่ยวกับ สาธารณกุศล
ไม่มีความเกี่ยวข้อง
สมาคมนี้ไม่เกี่ยวข้อง กับการเมือง
สิทธิของสมาชิก
1. สมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะได้รับความช่วยเหลือและสงเคราะห์ในเรื่องที่เกี่ยวกับ
ธุรกิจที่ได้ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ของสมาคม
2. สมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะเสนอความคิดเห็น หรือให้คำแนะนำต่อสมาคมหรือ
ต่อคณะกรรมการสมาคมในเรื่องใด ๆ ที่อยู่ในวัตถุประสงค์ของสมาคม ทั้งนี้เพื่อ
ส่งเสริมผลประโยชน์ของสมาคม
3. สมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะขอตรวจกิจการและทรัพย์สินของสมาคมได้โดย
ทำหนังสือยื่นต่อคณะกรรมการสมาคม
4. สมาชิกทั้งหมดมีสิทธิที่จะเข้าร่วมประชุมของสมาชิกเพื่ออภิปรายแสดง
ความคิดเห็นซักถามคณะกรรมการ หรือเสนอญัตติต่อที่ประชุมสมาชิกสามัญ
ประจำปี หรือต่อที่ประชุมสมาชิกวิสามัญ
5. สมาชิกสามัญเท่านั้นที่มีสิทธิในการออกเสียงลงคะแนนในที่ประชุมใหญ่
สามัญประจำปีหรือในที่ประชุมใหญ่วิสามัญหรือการออกเสียงในการเลือกตั้ง
คณะกรรมการสมาคม
ปัจจุบันมีสมาชิกทั้งสิ้น 25 บริษัทฯ
สมาชิกลำดับที่ 1
บริษัท เกตุวานิชอุตสาหกรรม จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 2
บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 3
บริษัท คอลเกต-ปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 4
บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
สมาชิกลำดับที่ 5
บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 6
บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 7
บริษัท ไลอ้อน (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 8
บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 9
บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 10
บริษัท เมย์ยูเม แมนูเฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 11
บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 12
บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 13
บริษัท เอสทีเอส คอนซูเมอร์โปรดักส์ จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 15
บริษัท เทพไทย เคมี จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 16
บริษัท เอส.ซี.ยอห์นสัน แอนด์ ซัน จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 17
บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 18
บริษัท เอส2เอ็น แมททีเรียล จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 19
บริษัท เอ็กโคแล๊บ จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 20
บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 21
บริษัท ไดเวอร์ซี่ ไฮยีน (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 22
บริษัท โนโวไซม์ (ประเทศไทย) จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 24
บริษัท เบรนน์แท็ก อินกรีเดียนส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
สมาชิกลำดับที่ 25
บริษัท อุตสาหกรรมมิตรมงคล จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 26
บริษัท นีโอ แฟคทอรี่ จำกัด
สมาชิกลำดับที่ 27
บริษัท เชอร์วู้ด คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน)
กรรมการบริหารสมาคมฯ ชุดปัจจุบัน พ.ศ. 2567
ดร. ภญ. นีรนารถ จิณะไชย
นายกสมาคม
บริษัท จอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (ไทย) จำกัด
ดร. สุษิรา สุดกรยุทธ์
อุปนายกด้านวัตถุอันตรายและสารเคมี
บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด
นางอลิสา หิรัญยไพศาลสกุล
อุปนายกด้านเครื่องสำอาง
บริษัท ลอรีอัล (ประเทศไทย) จำกัด
นายพีระพล จันทร์วิจิตร
- เหรัญญิก
- อุปนายกด้าน Internal Affairs/Operation Management
บริษัท สหพัฒนพิบูล จำกัด (มหาชน)
นางสาวรุ่งทิพย์ แก้วระย้า
- เลขาธิการ 1
- รองอุปนายกด้านเครื่องสำอาง
บริษัท รูเบียอุตสาหกรรม จำกัด
นายณฤพล มั่นเจริญ
- เลขาธิการ 2
- อุปนายกด้าน Smart IT for scientistic & technical activities
- รองอุปนายกด้านเครื่องสำอาง, Internal Affairs/Operation Management
บริษัท นีโอ แฟคทอรี่ จำกัด
นายสุเสวี อ่อนดำ
- นายทะเบียนฝ่ายสมาชิกสัมพันธ์
- อุปนายกด้าน External Affairs/PR
- รองอุปนายกด้าน Internal Affairs/Operation Management
บริษัท คาโอ อินดัสเตรียล (ประเทศไทย) จำกัด
นางเกวลิน หอรุ่งเรือง
รองอุปนายกด้าน External Affairs/PR
บริษัท แอมเวย์ (ประเทศไทย) จำกัด
นางสาวศิวาพร เฟื่องฟูสิน
- รองอุปนายกด้านวัตถุอันตรายและสารเคมี
- รองอุปนายกด้าน Smart IT for scientistic & technical activities
บริษัท พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล เทรดดิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
นางสาวพีรยา เอี่ยมปี
รองอุปนายกด้าน External Affairs/PR
บริษัท ดีเคเอสเอช (ประเทศไทย) จำกัด
นางสาวปริศนา สุวินทรากร
รองอุปนายกด้านวัตถุอันตรายและสารเคมี
บริษัท เรกคิทท์ เบนคีเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด
นางสุวรรณี สิริเวชชะพันธ์
ประธานที่ปรึกษาสมาคม
นางสาวนงลักษณ์ สถิตย์กาญจน์
ที่ปรึกษาสมาคม
ดร. ภก. นพดล อัจจิมาธีระ
ที่ปรึกษาสมาคม
นโยบายต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Policy)
สมาคมผู้ผลิตสบู่ไทย ผลิตภัณฑ์ในบ้านเรือนและส่วนบุคคล มุ่งมั่นสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่ยึดถือความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส และมีจริยธรรม นโยบายต่อต้านการทุจริตนี้เป็นมาตรฐานแนวทางปฏิบัติสำหรับสมาชิกทุกท่าน
The Thai Soap Detergents, Households and Personal Care Association (TSDA) is committed to fostering a business environment characterized by integrity, transparency, and ethical conduct. This Anti-Corruption Policy outlines the standards of behavior expected of all TSDA members.
คำชี้แจงนโยบาย (Policy Stataement)
สมาคมฯ มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยมาตรฐานจริยธรรมสูงสุดและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่อต้านการทุจริตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด สมาชิกคาดว่าจะยึดถือหลักความซื่อสัตย์สุจริต และยุติธรรมในการทำธุรกิจทุกครั้ง
The TSDA is committed to conducting its affairs with the highest ethical standards and in compliance with all applicable anti-corruption laws and regulations. Members are expected to uphold the principles of honesty, integrity, and fairness in all business dealings.
ขอบเขต (Scope)
นโยบายนี้ใช้กับสมาชิกสมาคมฯ ทุกคน พนักงาน ตัวแทน และผู้แทนของสมาชิก
This policy applies to all TSDA members, their employees, agents, and representatives.
ข้อห้าม (Prohibited Conduct)
สมาชิกต้องไม่เข้าร่วมในการทุจริตใด ๆ รวมถึงการกระทำดังนี้:
การรับสินบน: การเสนอ สัญญา ให้ หรือรับประโยชน์ใด ๆ เพื่ออิทธิพลต่อการประพฤติของบุคคลอื่นในตำแหน่งทางราชการหรือทางธุรกิจ
การยักยอก: การเบียดบังเงินหรือทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ส่วนตัว
การฉ้อโกง: การหลอกลวงโดยเจตนาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตัวหรือทางการเงิน
การขู่กรรโชก: การเรียกเงินหรือทรัพย์สินโดยการขู่หรือบังคับ
ความขัดแย้งผลประโยชน์: การแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวเหนือผลประโยชน์ของบริษัทหรือของสมาคมฯ
Members shall not engage in any form of corruption, including but not limited to:
Bribery: Offering, promising, giving, or receiving any undue advantage to influence the conduct of another person in their official or business capacity.
Embezzlement: Misappropriation of funds or assets for personal gain.
Fraud: Intentional deception for personal or financial gain.
Extortion: Obtaining money or property through threats or coercion.
Conflict of Interest: Placing personal interests above the interests of the company or the TSDA.
ของขวัญและการต้อนรับ (Gifts and Hospitality)
สมาชิกต้องใช้ความระมัดระวังในการให้หรือรับของขวัญ การดูแลต้อนรับ หรือกระทำที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์อื่น ๆ การกระทำดังกล่าวควรเป็นไปตามเหตุผล ตามธรรมเนียม และไม่มุ่งหวังที่จะมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจทางธุรกิจ การให้ของขวัญและการต้อนรับที่หรูหราฟุ่มเฟือยมากเกินไปอาจถือว่าไม่เหมาะสม
Members shall exercise caution when accepting or offering gifts, hospitality, or other benefits. Such actions should be reasonable, customary, and not intended to influence business decisions. Excessive or lavish gifts and hospitality may be considered improper.
การบันทึกและความโปร่งใส (Record Keeping and Transparency)
สมาชิกต้องรักษาบันทึกที่ถูกต้องและครบถ้วนเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงินและการทำธุรกิจ บันทึกทางการเงินควรมีความโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้
Members shall maintain accurate and complete records of financial transactions and business dealings. Financial records should be transparent and accessible for review.
การปฏิบัติตามนโยบายและการรายงาน (Compliance and Reporting)
สมาชิกต้องปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับต่อต้านการทุจริตที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ควรรายงานการละเมิดนโยบายนี้ที่สงสัยแก่คณะกรรมการของสมาคมฯ
Members shall comply with all applicable anti-corruption laws and regulations. Any suspected violations of this policy should be reported to the TSDA Board of Committees.
ผลที่ตามมาจากการละเมิด (Consequences of Violations)
การละเมิดนโยบายนี้อาจส่งผลให้มีการดำเนินการทางวินัย รวมถึงการยกเลิกการเป็นสมาชิก
Members shall comply with all applicable anti-corruption laws and regulations. Any suspected violations of this policy should be reported to the TSDA Board of Committees.
การทบทวนและการปรับปรุง (Review and Update)
นโยบายนี้จะได้รับการทบทวนเป็นระยะ ๆ เพื่อให้แน่ใจว่ายังคงมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
This policy will be reviewed periodically to ensure its continued effectiveness and compliance with applicable laws and regulations.